หากเราใช้คำว่า PDPA นั้นหลายคนอาจไม่คุ้นหูกันสักเท่าใดนัก แต่ถ้าลองเกริ่นด้วยคำว่า ‘พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ’ ก็เชื่อว่าต้องมีคนร้องอ๋อกันออกมาไม่มากก็น้อย
บทบาทของพ.ร.บ.นี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภาคเอกชน ที่เราคงเห็นแล้วว่ามีผู้ประกอบการบางรายนำข้อมูลที่ได้ไปใช้โดยที่ไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งหากมีการเปิดใช้งานเมื่อไหร่ผู้ประกอบการทั้งหมดที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากลูกค้าอยู่แล้วต้องดำเนินการปรับตัวทันที มิฉะนั้นอาจถูกดำเนินการทางกฎหมายได้ง่ายๆ
เราได้นำข้อมูลของ PDPA ส่วนสำคัญออกมาและสรุปให้ทุกท่านเข้าใจว่า พ.ร.บ.นี้ทำงานอย่างไร ครอบคลุมถึงไหน และคุณควรปรับตัวอย่างไรบ้าง
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ PDPA (Personal Data Protection Act)
Personal Data Protection Act (PDPA) หรือในภาษาไทยก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น คือพ.ร.บ.ที่ออกมาเพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้คนในประเทศไปใช้งานโดยมิชอบ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้นๆ
ซึ่ง พ.ร.บ.นี้ มีกำหนดการใช้งานในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (ล่าสุดได้มีการเลื่อนขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกไปอีก 1 ปี ในบางหมวดคือ บางหมวดคือ หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96)
ในโลกที่ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่เราเห็นผ่านตากันทุกคน น่าจะมีคนไม่น้อยกว่าตัวของเรานั้นมีข้อมูลที่มีค่ามากขนาดนั้นเลยหรือ ขอตอบว่าใช่ และยิ่งข้อมูลจำนวนมหาศาลมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือสังคมได้เลยทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนบุคคลเรื่อง เพศ ศาสนาที่นับถือ พรรคการเมืองที่สนใจ สุขภาพ เงินในบัญชีธนาคาร ข้อมูลทางชีวภาพเช่นลายนิ้วมือ
ใครที่ต้องเกี่ยวข้องกับ PDPA บ้าง
หากเราจะมีการระบุว่า ‘ทุกคน’ ก็คงจะไม่เกินเลยไปเท่าใดนัก แต่หากพิจารณาตามข้อกฎหมายดูแล้ว ตัวของพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะค่อนข้างไม่ส่งผลกระทบต่อภาครัฐและหน่วยงานราชการเท่าใดนัก แต่ส่งผลต่อผู้ประกอบการบริษัท และองค์กรเอกชนเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น
– องค์กรที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งาน
– องค์กรที่เป็นตัวกลางคอยเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลของลูกค้า
– องค์กรที่เสนอขายสินค้าต่างๆ และเก็บข้อมูลลูกค้าภายในประเทศไทย
ซึ่งในยุคที่ข้อมูลครองเมืองนี้ไม่ว่าบริษัทไหนๆ ต่างก็มีส่วนร่วมเกี่ยวกับข้อมูลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแทบทั้งสิ้น ดังนั้นทุกบริษัทจะต้องดำเนินการตรวจสอบการใช้ข้อมูลของตนเอง เพื่อดูว่ามีส่วนใดส่งผลกระทบเมื่อพ.ร.บ. ดังกล่าวมีการใช้งานจริงบ้าง
สรุป
พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลจะส่งผลกระทบอย่างมากกับภาคเอกชนที่มีการเก็บข้อมูลประชาชน รวมถึงบริษัทที่มีเว็บไซต์และมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน เราแนะนำให้มีการปรึกษากับฝ่ายกฎหมายรวมถึงศึกษารายละเอียดของพ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่อประเมินผลกระทบที่ส่งผลต่อบริษัทตนเองโดยตรง และวางแผนว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร หรือจะแก้ไขและป้องกันอย่างไรด้วย
แน่นอนว่าพ.ร.บ.ต่างๆ มักมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามมาอยู่เสมอๆ ดังนั้นผู้ประกอบการและองค์กรควรมีการติดตามข้อมูลข่าวสารทางกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเองและคนรอบข้าง มาถึงตรงนี้แล้วหากยังไม่มั่นใจว่าคุณควรติดตั้งหรือทำอะไรกับเว็บไซต์คุณเพิ่มเติมบ้าง ปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ